โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดอบรม DC Charger Technology เสริมความรู้เทคโนโลยีการชาร์จไฟฟ้าแบบสองทิศทาง แก่คณาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการด้านยานยนต์ EV | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา จัดอบรม DC Charger Technology เสริมความรู้เทคโนโลยีการชาร์จไฟฟ้าแบบสองทิศทาง แก่คณาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการด้านยานยนต์ EV

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 3 กุมภาพันธ์ 2568 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 50 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) จัดโครงการอบรม "DC Charger Technology" ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องปฏิบัติการยานยนต์สมัยใหม่ อาคาร C4 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การอบรมนี้จัดขึ้นภายใต้ โครงการพัฒนาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบสองทิศทางระหว่างยานยนต์ไฟฟ้าสู่ระบบไฟฟ้า ซึ่งมุ่งเน้นการควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้าอย่างเหมาะสมบนฐานค่าไฟฟ้าแบบเวลาจริง ผ่านรูปแบบบัญชีธุรกิจออนไลน์ โดยมีภาคีเครือข่ายร่วมสนับสนุน ได้แก่ หน่วยวิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา บริษัท KBM Technology และ P.G. Intergroup เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการชาร์จไฟฟ้าระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายพลังงาน และให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีแนวทางในปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่โลกของยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่

ผศ.ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ในนามคณะผู้จัดงาน กล่าวว่า "การจัดอบรมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย เรามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนผลักดันเทคโนโลยีนี้สู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง" 

สำหรับเนื้อหาการอบรมประกอบด้วยการบรรยายถึงแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า และการพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงและสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสองเทศทางจะครอบคลุมแนวคิดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชาร์จไฟฟ้าแบบสองทิศทาง (Bidirectional Charging) ผ่านแนวคิด Vehicle-to-Grid (V2G) ซึ่งช่วยให้ผู้ผู้เข้าร่วมอบรมทราบถึงระบบชาร์จพลังงานเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้าและส่งพลังงานกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าเมื่อยานยนต์หยุดใช้งาน และในการอบรมยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การออกแบบและพัฒนาเครื่องชาร์จไฟฟ้าแบบสองทิศทาง รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจาก KBM Technology และ P.G. Intergroup

<< คลิกเข้าชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม>>







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon