วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
|
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะ โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงบูรณาการ เช่น การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ การจัดการฐานข้อมูล คลังข้อมูล การจัดการข้อมูลมหัต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบความมั่งคงปลอดภัย เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาปรับปรุงระบบงาน และสร้างนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น หรือนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
|
---|---|---|
|
|
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทัดเทียมในระดับสากล เพื่อสามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และการประกอบอาชีพอิสระ เช่น นักวิเคราะห์ระบU (System Analyst) ผู้ดูแลระบบ (System Administrator) ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (Software Developer/ Programmer) ผู้ดูแลระบบและจัดการฐานข้อมูล (Database Administrator) ผู้บริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Administrator) นักออกแบบกราฟิกและมัลติมีเดีย (Multimedia and Graphic Designer) เป็นต้น
|
|
|
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียร ใฝ่รู้ มีความสำนึกต่อจรรยาบรรณอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
|
|
|
4. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ประเด็นปัญหา หรือข้อมูลระดับท้องถิ่นในการตั้งสมมติฐานเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำกลับไปใช้แก้ไขและพัฒนาชุมชน
|
|
|
|
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
|
|
การรับนักศึกษาต้องให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม ดังนี้
|
|
|
1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนหรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิการศึกษาที่สูงกว่าทุกสาขาวิชา
|
|
|
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมส์และแอนิเมชันสาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
|
|
|
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้
หลังสำเร็จการศึกษา
|
|
1. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2. เจ้าหน้าที่บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
|
|
3. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย |
|
|
4. นักพัฒนาเว็บไซต์ |
|
|
5. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ |
6. นักเขียนโปรแกรม หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ | ||
7. ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ | ||
8. ผู้ดูแลและออกแบบระบบฐานข้อมูล | ||
9. นักออกแบบและพัฒนางานกราฟิกและสื่อประสม | ||
|
|
10. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
|
|
ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี (131 หน่วยกิต)
|
|
|
|
ความเป็นสากลของหลักสูตร
|
|
หลักสูตรภาษาไทย
|
|
|
|
ค่าใช้จ่าย
|
|
ตลอดหลักสูตรประมาณ 96,000 บาท (เทอมละ 12,000 บาท)
|
|
|
|
พื้นที่การเรียนการสอน
|
|
มทร.ล้านนา ตาก , ลำปาง, พิษณุโลก
|
|
|
|
|
|
เล่ม มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่ง หมูล้อม ประธานหลักสูตร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่ง หมูล้อม หัวหน้าหลักสูตร |
อาจารย์ธานินทร์ สินพรมมา ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
ดร.วชิระ หล่อประดิษฐ์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์วันชนะ จูบรรจง ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤตาพร พัชระสุภา ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติวัฒน์ ตาคำ หัวหน้าหลักสูตร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นราวิชญ์ ความหมั่น ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์คนึงนุช สารอินจักร์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์สุขุมาล ตั้วสกุล ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์สุวรรณี เจียรสุวรรณ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
อาจารย์คัชรินทร์ ทองฟัก หัวหน้าหลักสูตร |
อาจารย์อมิตตา คล้ายทอง ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์ศิริจรรยา จันทร์มี ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์วิไรวรรณ แสนชะนะ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
อาจารย์เพ็ญศิริ ใจวัน ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา