|
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะศาสตร์การคำนวณ สามารถคิดเป็นระบบ แก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และต่อยอดกับงานด้านอื่นได้
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และสามารถเป็นผู้ประกอบการประกอบอาชีพอิสระด้านคอมพิวเตอร์ได้
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำกลับไปพัฒนาชุมชนหรือประเทศชาติได้
5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียร ใฝ่รู้ มีความสำนึกต่อจรรยาบรรณอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
6. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องการเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) และมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552
|
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
|
1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เทคนิคคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
|
1. นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพืวเตอร์
2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
3. นักวิเคาระห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
4. นักเขียนโปรแกรม ผู้พัฒนาเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
5.ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและแม่ข่าย
6. ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
7. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์
8. ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
9. นักพัฒนาเว็บไซต์
10. นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
|
ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี (131 หน่วยกิต)
|
ความเป็นสากลของหลักสูตร
|
หลักสูตรภาษาไทย
|
เกรดต่ำสุดที่สามารถจบ
|
2.00
|
วันที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรครั้งแรก
|
2560-01-06
|
วันที่ กพ. รับรองหลักสูตรครั้งแรก
|
2560-01-06
|
วันที่รับรองหลักสูตรโดย สกอ
|
2560-01-06
|
วันที่สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตร
|
2559-12-01
|
วันที่สภาวิชาชีพให้การรับรอง (ถ้ามี)
|
2560-01-06
|
ค่าใช้จ่าย
|
ตลอดหลักสูตรประมาณ 56,000 บาท (เทอมละ 7,000 บาท)
|
มทร.ล้านนา น่าน
|
พื้นที่การเรียนการสอน
|
|
|
ข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตร
|
|
|
|
|
|
|
||||
|
||||
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย | ขนิษฐา หอมจันทร์ | อาจารย์ ปกรณ์ สุนทรเมธ | อาจารย์ วรวิทย์ ฝั้นคำอ้าย |
|
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
|
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
|
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
|
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
|
|
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา