โลโก้เว็บไซต์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร


 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
 

1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรกลเกษตร และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบเกษตรแม่นยำ เกษตรอัจฉริยะ สามารถคิด วิเคราะห์ และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

 
 
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการใช้งาน การบำรุงรักษา การซ่อมแซม เครื่องจักรกลเกษตรเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรมเกษตร และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการบริการสู่ชุมชนอย่างเหมาะสม
 
 
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม ระเบียบวินัย มีความคิดสร้างสรรค์ ปรับปรุงตนเอง ให้ก้าวหน้าอยู่ เสมอ มีความขยันหมั่นเพียร ชื่อสัตย์สุจริต สำนึกในจรรยาบรรณ ของนักวิชาการนักปฏิบัติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเสริมสร้างเอกลักษณ์ของไทย
     
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
 
การรับนักศึกษาต้องให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม ดังนี้
 
 
1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร/ช่างกลเกษตร/เกษตรกรรมทุกสาขา/ช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาหรือเทียบเท่า
 
 
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิขาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร/ช่างกลเกษตร/เกษตรกรรมทุกสาขา/ช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ประกาศเพิ่มเติม
 
 
 
อาชีพที่สามารถประกอบได้
หลังสำเร็จการศึกษา
 
1. รับราชการ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติงานเมล็ดพันธุ์ พนักงานกองงานวิศวกรรมเกษตร พนักงานศูนย์เครื่องจักรกลเกษตร พนักงานกองช่างชลประทาน
 
 
2. พนักงานประจำศูนย์บริการเครื่องจักรกลเกษตร ฝ่ายฝึกอบรมและซ่อมบำรุง เจ้าหน้าที่ทดสอบสมรรถนะเครื่องจักรกลเกษตร เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
 
 
3. พนักงานอุตสาหกรรมเกษตรแผนกแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลเกษตร แผนกส่งเสริมการผลิต แผนกเครื่องทุ่นแรงผลิตเมล็ดพันธุ์  ฝ่ายบำรุงรักษา
 
 
4. พนักงานประจำโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงสีข้าว เป็นต้น
 
 
5. พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมฝ่ายผลิตและออกแบบ เขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรงานอุตสาหกรรม
 
 
6. ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการผลิตพืชระบบเกษตรอัจฉริยะ ผู้ประกอบการซ่อมบำรุง เครื่องจักรกลเกษตร นักธุรกิจเกษตรแปรรูป (SMEs) เป็นต้น
     
 
ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี (129 หน่วยกิต)
 
 
 
ความเป็นสากลของหลักสูตร
 
หลักสูตรภาษาไทย
 
 
 
ค่าใช้จ่าย
 
ตลอดหลักสูตรประมาณ 96,000  บาท (เทอมละ 12,000 บาท)
 
 
 
พื้นที่การเรียนการสอน
 
มทร.ล้านนา พิษณุโลก
 
 
 
 
 

1111

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา พรหมพฤกษ์

ประธานหลักสูตร

 

     

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา พรหมพฤกษ์

หัวหน้าหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเจิด กาญจนา

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล ตรีรัตน์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

     

อาจารย์บุญฤทธิ์ สโมสร

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์วรกฤช ดอนคำเพ็ง

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

 

 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon