โลโก้เว็บไซต์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร


 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
 
1. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ ความสามารถทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 
 
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณเห่งวิชาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
 
 
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านทฤษฎี ปฏิบัติการ และบระสบการณ์วิชาชีพ เพื่อให้สามารถป็นผู้ประกอบการได้
 
 
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นำไปพัฒนาความรู้และทักษะปฏิบัติในวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
 
การรับนักศึกษาต้องให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม ดังนี้
 
 
1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือ เทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกแผนการเรียน
 
 
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีหชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชา เทคโนโลยีการอาหาร หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาทุกแผนการเรียน โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังกับ มทร. ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
 
 
 
อาชีพที่สามารถประกอบได้
หลังสำเร็จการศึกษา
 
1. ประกอบอาชีพในโรงานอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
- ตำแหน่งผู้ควบคุมงานระดับหัวหน้าฝ่าย (Supervisor) หรือระดับหัวหน้าแผนกทั้งในฝ่าย
การผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
- นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
 
 
2. ประกอบอาชีพในงานระบบประกันคุณภาพด้านอาหาร เช่น
- ที่ปรึกษาระบบคุณภาพด้านอาหาร เช่น GMP HACCP ISO 22000
- ผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ระบบคุณภาพด้านอาหาร เช่น GMP HACCP ISO 22000
 
 
3. ผู้แทนจำหน่าย (Sale representative) ของบริษัท เช่น จำหน่ายสารเคมี และวัตถุเจือปนใน
 
 
4. นักวิชาการในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น
- อาจารย์ในสถานศึกษา
- สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด/สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการกลาง
 
 
5. ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการแปรรูปอาหาร นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร
 
 
 
 
ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี (127 หน่วยกิต)
 
 
 
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, เทคโนโลยีการอาหารและการประกอบธุรกิจ
 
 
 
ความเป็นสากลของหลักสูตร
 
หลักสูตรภาษาไทย
 
 
 
ค่าใช้จ่าย
 
ตลอดหลักสูตรประมาณ 96,000  บาท (เทอมละ 12,000 บาท)
 
 
 
พื้นที่การเรียนการสอน
 
มทร.ล้านนา น่าน , พิษณุโลก , ลำปาง 
 
 
 
 
 
 เล่ม มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยาพร นิพรรัมย์

ประธานหลักสูตร

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

 

  • วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
     

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช รสเครือ

หัวหน้าวิชาเอก / หัวหน้าหลักสูตร

ดร.สุทธิดา ปัญญาอินทร์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกิต ทิมขำ

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

     

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี ศรีแย้ม

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มลิวรรณ กิจชัยเจริญ

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

 

  • วิชาเอกเทคโนโลยีการอาหารและการประกอบธุรกิจ
     

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยาพร นิพรรัมย์

หัวหน้าหลักสูตร / หัวหน้าวิชาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กาวีวงศ์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล ถนอมวงค์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

     
     
  • วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ทัศนอุดม

หัวหน้าวิชาเอก

 

อาจารย์จักรพันธุ์ รอดทรัพย์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

อาจารย์วรรณภา สระพินครบุรี

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

 

  • วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ดร.ลชินี ปานใจ

หัวหน้าหลักสูตร/ หัวหน้าวิชาเอก

ดร.ปรัศนีย์ กองวงศ์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งทิวา กองเงิน

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

     

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย บุญทะวงศ์

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิอร โฉมศรี

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา