โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างโมเดล 3 มิติและการประมาณราคาบ้านพักอาศัยขนาดเล็กด้วย SketchUp BIM | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างโมเดล 3 มิติและการประมาณราคาบ้านพักอาศัยขนาดเล็กด้วย SketchUp BIM

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 8 สิงหาคม 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 6864 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

หลักสูตรวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างโมเดลสามมิติและประมาณราคาบ้านพักอาศัยขนาดเล็กด้วย SketchU BIM" ณ อาคารห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขั้น 2 อาคาร สถ.1 สาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้การสนับสนุนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาภาคเหนือ (เชียงใหม่) และ บริษัท บ้านสเกตช์อัพ จำกัด เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (ฺBuilding Information Modeling : BIM) พร้อมทั้งแนวทางการบูรณาการทำงานร่วมกับโปรแกรม SketchUp ให้สามารถกำหนดรูปแบบการใช้งานสำหรับการก่อสร้าง การประมาณราคาก่อสร้างไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้างและการควบคุมงานก่อสร้างได้  สามารถลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน และลดปัญหารที่เกิดจากการรับข้อมูลที่ผิดพลาดจาการใช้กระบวนการทำงานแบบเดิมด้วยโปรแกรม SkechUp BIM  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ สิทธิเจริญ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วย ดร.พรพจน์ นุเสน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมโยธา เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการต่อประธาน  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการด้านงานก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน และในการจัดอบรมดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากนายสุธิพงศ์ สงกรานต์ (อาจารย์ป้อม) และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานโปรแกรม SketchUp BIM จากบริษัท บ้านสเกตช์อัพ จำกัด เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และทำ Workshop พร้อมด้วยทีมนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมโยธา มทร.ล้านนา เข้าร่วมเป็นทีมงานในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เข้าอบรม  

สำหรับการจัดโครงการดังกล่าว มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจด้านงานก่อสร้างได้ อีกทั้งคณะผู้จัดโครงการได้วางแนวทางการขยายขีดความสามารถสู่การเป็นศูนย์ฝึกอบรมรู้ด้าน SketchUp BIM ของภาคเหนือ ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่นกลุ่มเปาะบาง หรือกลุ่มผู้ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหลัก ให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้สู่การพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon