โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ ศูนย์ SEAMEO STEM-ED จัดการประชุม Experts Meeting and Knowledge Exchange Forum Interanion of STEM | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา ร่วมกับ ศูนย์ SEAMEO STEM-ED จัดการประชุม Experts Meeting and Knowledge Exchange Forum Interanion of STEM

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 6 กุมภาพันธ์ 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 3502 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มทร.ล้านนา ร่วมกับ ศูนย์ SEAMEO STEM-ED ดึงผู้เชี่ยวชาญในชาติอาเซียนหารือแนวทางการบูรณาการสะเต็มศึกษา(STEM Education) ร่วมกับ อาชีวศึกษา เทคนิคศึกษาและฝึกอบรม (TVET) สู่แนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้เพื่อยกระดับการผลิตบัณฑิตมืออาชีพ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการศึกษาแบบใหม่

   วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for STEM Education / ศูนย์ SEAMEO STEM-ED) จัดการประชุม Experts Meeting and Knowledge Exchange Forum Interanion of STEM ณ ห้องประชุมราชรัตน์ อาคาร บธ.3 คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษาจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการบูรณาการสะเต็ม ศึกษาเข้ากับอาชีวศึกษา เทคนิคศึกษาและฝึกอบรม ในแต่ละประเทศ พร้อมกำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมกันในอนาคต สู่การยกระดับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน โดยมีดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO STEM-ED Dr.Paryono Paryono Deputy Director for Programme,SEAMEO VOCTECH ประเทศบรูไน และ ดร.นพดล มณีเฑียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆของไทย และจากชาติสมาชิกในอาเซียนร่วมในการประชุมดังกล่าวทั้งแบบออนไซต์ และ ออนไลน์

   ดร.นพพล มณีเฑียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ได้กล่าวว่า “สำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการนำสะเต็มศึกษาและศาสตร์ด้านต่างๆ มาบูรณาการสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอน ก็จะได้นำแนวปฏิบัติที่ดีจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อยกระดับการผลิตบัณฑิตมืออาชีพ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการศึกษาแบบใหม่จากการบูรณาการสะเต็มศึกษา กับ อาชีวศึกษา เทคนิคศึกษาและการฝึกอบรม ที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ควบคู่กับการเพิ่มทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาแก่บุคลากรและนักศึกษาอันเป็นเป้าหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้นด้วย”







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon