เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 26 สิงหาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2139 คน
คณะกรรมการศึกษาแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มทร.ล้านนา นัดหารือเพื่อสรุปผลการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา และถกประเด็นข้อดี ข้อเสีย ของการเข้าสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทั้งด้านกฏหมาย ด้านงานบุคคล และด้านการจัดการศึกษา พร้อมลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาคม มทร.ล้านนา ในเดือนพฤศจิกายน 66 นี้ เพื่อสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเตรียมส่งไม้ต่อคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยดำเนินการในลำดับต่อไป
วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ ปางหลวงการ์เด้น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง คณะกรรมการศึกษาแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้จัดการประชุมคณะกรรมการ ครั้ง 4 ภายใต้โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมี ผศ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น ผศ.ชุติสร เรืองนาราบ ผศ.วรรณพร ทีเก่ง ผศ.สุบงกช โตไพบูลย์ ผศ.กนกวรรณ เวชกามา ผศ.ปัญจพร ศรีชนาพันธ์ ผศ.พงศกร สุรินทร์ ผศ.อภิชาติ ชิดบุรี นายเฉลา วงศ์แสง นายจรินทร์ ทองทวี นายหิรัญกฤษฏิ์ โลตุรัตน์ นายจเร นะราชา นางสาวพลับพลึง เครือมิ่งมงคล นายจักรพันธุ์ รอดทรัพย์ นางรัชดาภรณ์ แสนประสิทธิ์ ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 4 เป็นการนำตัวอย่างของมหาวิทยาลัย จำนวน 4 มหาวิทยาลัย มาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ในด้านต่างๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การบริหารงานบุคคล การจัดการศึกษา การวิจัยและบริการวิชาการ การจัดหารายได้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภารกิจของมหาวิทยาลัย
ซึ่งในขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการศึกษาแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะได้จัดทำข้อมูลสรุปในแต่ละด้านเพื่อใช้สำหรับการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ความเข้าใจ กับบุคลากรทั้ง 6 เขตพื้นที่ เกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอนาคต อนึ่งในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ความเข้าใจ กับบุคลากรทั้ง 6 เขตพื้นที่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
(ขอบคุณภาพ/ข้อมูล จาก ผศ.พงศกร สุริทร์ กรรมการศึกษาแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ )
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา