โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการของนักศึกษา ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2563 | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการของนักศึกษา ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2563

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 เมษายน 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 5051 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 29 มีนาคม 2564 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและธนาคารออมสิน ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการของนักศึกษา ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2563 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 2 อาคารศูนย์วิจัย พัฒนา ภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด) โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเป็นประธานในพิธี โดยมี นายนคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 นายทรงยศ สุทะกุล พนักงานสนับสนุนธุรกิจ 7 และอาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นคณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะผลการดำเนินงานของนักศึกษา 


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้บันทึกความร่วมมือร่วมกับธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยโครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ในการพัฒนาความรู้ เสริมภูมิปัญญา สร้างคุณค่าเศรษฐกิจชุมชน โดยปีนี้เป็นปีที่ 3 มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในระดับฐานรากให้กลุ่มผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ที่กระจายอยู่ในทุกท้องถิ่น เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ของนักศึกษามาพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในท้องถิ่นให้ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็ตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ในการยกระดับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น อย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8 โครงการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้


ประเภทที่ 1 กินดี (อาหาร ,เครื่องดื่ม) ได้แก่

  1. โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มกาละแมแม่ทองใบ สันดอนรอม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  2. โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกานเบเกอรี่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  3. โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหน่อไม้ฝรั่งและผักตามฤดูกาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

 

ประเภทที่ 2 อยู่ดี (ท่องเที่ยว ,ที่พักโฮมสเตย์) ได้แก่

  1. โครงการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว หมู่บ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  2. โครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

 

ประเภทที่ 3 ดูดี (สิ่งของ ,เครื่องใช้ ,ของที่ระลึก) ได้แก่

  1. โครงการพัฒนาศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
  2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน วิถีธรรมชาติ วิถีท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
  3. โครงการ ฝั้นฝ้าย ปั้นฝัน ยุวพัฒน์ผลักดันผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย บ้านตาลกลาง ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่


กิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2563 ได้มีการมอบเกียรติบัตร ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยรางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม ก้อดี ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน วิถีธรรมชาติ วิถีท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ รายชื่อคณะทำงานดังต่อไปนี้

  1. นายพบสันต์ ติไชย อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
  2. นางสาวนิรมล ประเสริฐพงศ์กุล นักวิจัยอิสระ/อาจารย์พิเศษ
  3. นายปฏิภาณ โลราช นักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
  4. นางสาวหทัยรัตน์ อเนกอุทัย นักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
  5. นางสาวรุ่งนภา ปวงอุปถัมภ์ นักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
  6. นายปัฐวีกานต์ ศรีบัวขำ นักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
  7. นางสาวเนตรอัปสร ประเสริฐพงศ์กุล นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

 

ซึ่งได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการออมสินยุวัฒน์รักษ์ถิ่นระดับประเทศต่อไป

 

ภาพ : วรวิทย์ ณ วรรณมา ,จักรรินทร์ ชื่นสมบัติ
ข่าว : วรรธนพงศ์ เทียนนิมิตร
 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon