โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดประชุมนักวิจัยและพิจารณาโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศชุมชนป่าเสื่อมโทรม ร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา จัดประชุมนักวิจัยและพิจารณาโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศชุมชนป่าเสื่อมโทรม ร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 11 ตุลาคม 2561 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5718 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 11 ตุลาคม 2561 รองศาสตราจารย์ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณาโครงการการฟื้นฟูระบบนิเวศชุมชนป่าเสื่อมโทรมจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการ และนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานทั้ง 6 โครงการย่อย ภายใต้ “โครงการการฟื้นฟูระบบนิเวศชุมชนป่าเสื่อมโทรมจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนกรณีศึกษา บ้านแม่ขี้มูก ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่” ประกอบด้วย

1. โครงการผันน้ำด้วยพลังงานผสมผสานเพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่ลาดชัน โดย อ.จิรศักดิ์ ปัญญา และคณะ

2. โครงการระบบติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูป่า พื้นที่ดำเนินโครงการกองทุน FLR349 โดย อ.ประดิษฐ์ เจียรกุลประเสริฐ และคณะ

3. โครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยแนวคิดป่าให้สีและกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ สำหรับผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อยกระดับผ้าทอตีนจก โดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย และคณะ

4. โครงการแปรรูปกาบกล้วยเหลือใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร โดย อ.กรวัฒน์ วุฒิกิจ

5. โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไมโครนาโนบับเปิลเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดย อ.พิพัฒน์ หมื่นเป็ง

6. โครงการนวัตกรรมการจัดการเพื่อเศรษฐกิจในชุมชน โดย ผศ.เศรฐสุดา ปรีชานนท์ และคณะ

โดยมี ดร.ภาสวรรธน์ วัชรดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคีเครือข่าย และคณาจารย์ผู้ทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon