โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ ฮานา ไมโครอิเล็กโทรนิกส์ ลำพูน  เพื่อขยายกรอบเวลาการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ ฮานา ไมโครอิเล็กโทรนิกส์ ลำพูน เพื่อขยายกรอบเวลาการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 12 กันยายน 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1135 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันพุธที่ 11 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนนท์ นำอิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ นำคณะผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ หัวหน้าหลักสูตร เข้าพบคุณวิชัย สุขประเสริฐกุล รองประธานและผู้จัดการทั่วไป (Vice President & General Manager) และคณะผู้บริหาร บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ลำพูน เพื่อลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ (เฟสที่ 2) ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา กับ บริษัทฮานาฯ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการในเฟสที่ 1 ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยบริษัทฯ ได้ส่งบุคลากรระดับช่างอุตสาหกรรมมาเรียนเสริมองค์ความรู้ (Up Skill) ทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยหลังจากสำเร็จการศึกษา วิศวกรบัณฑิต HandsOn ทั้ง 20 คน สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับ กลับไปปฏิบัติงานทำสิ่งประดิษฐ์ KnockDown Automation เปลี่ยนระบบ Manual ไปสู่ Automation ตามนโยบายบริษัทฯ HANA 4.0 แบบสายธารน้ำไหล ดักจับของเสียตั้งแต่เป็นตัวอ่อน เมื่อเครื่องพบสิ่งผิดปกติจะหยุดทำงานและแจ้งเตือนทำให้ลดการสูญเสียทวีคูณในอนาคตได้ จากผลงานและความสำเร็จดังกล่าว จึงนำมาสู่การทำความร่วมมือในรุ่นที่ 2 ภายใต้หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จำนวน 10 คน และรุ่น 3 หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ จำนวน 11 คน โดยเฟสที่ 2 จะมีการขยายกรอบระยะเวลาดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี และยังครอบคลุมถึงการดำเนินโครงการบริจาคเครื่อง Surface Mount Technology ให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างเสริมทักษะ และจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาทั้งสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมอุตสาหการ รุ่นใหม่ มีองค์ความรู้และทักษะ ด้าน SMT รองรับการขยายตัวและความต้องการกำลังคนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามนโยบายของประเทศไทยอีกด้วย
(ขอบคุณ ภาพ/ข้อมูล : ผศ.ดร.อาทิตย์  ยาวุฑฒิ)








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon