โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมจัดถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งกลุ่มชุมชน เกษตรกรไทลื้อบ้านวังไผ่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตอน เชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมจัดถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งกลุ่มชุมชน เกษตรกรไทลื้อบ้านวังไผ่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตอน เชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 22 สิงหาคม 2567 โดย วีรวิทย์ ณ วรรณมา จำนวนผู้เข้าชม 121 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 20 สิงหาคม 2567 นำโดยนางสาวพิมลพรรณ เลิศบัวบาน นักวิจัย และคณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความเข้มแข็งกลุ่มชุมชน เกษตรกรไทลื้อบ้านวังไผ่ หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตอน เชียงใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี อาจารย์พยุงศักดิ์ มะโนชัย อาจารย์รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา และนางสาวปัทมา ไทยอู่ สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เข้ากิจกรรม

       การดำเนินโครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
       โดยก่อนหน้านี้ชุมชนมีการผลิตเห็ดหอมและเห็ดนางฟ้าส่งโครงการหลวงฯ มีผลผลิตเห็ดบางส่วนที่ตกเกรด และบางครั้งมีผลผลิตเห็ดออกมาจำนวนมากจนจำหน่ายไม่ทัน ครั้งที่ผ่านมามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด ได้แก่น้ำพริกเห็ด เห็ดกรอบปรุงรส ข้าวเกรียบเห็ด และผงโรยข้าวจากเห็ด ในแบรนด์ “วังไผ่ไทลื้อ”  ซึ่งทางกลุ่มสามารถผลิตและจำหน่ายสามารถเพิ่มรายได้ให้ทางกลุ่มได้เป็นอย่างดี แต่การผลิตเห็ดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพในชุมชน เนื่องจากมีการเพาะปลูกพืชผลอื่นๆ เช่น กล้วยน้ำว้า ฟักทอง มันเทศ มะม่วง และหัวบุกที่พบมากในพื้นที่ชุมชน ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดว่าควรจะนำผลผลิตดังกล่าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้โรงอบแห้ง เพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าและลดของเสีย (Zero Waste) ภายใต้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย เป็นการช่วยยืดอายุการจำหน่าย และเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนและการสร้างรายได้บนพื้นที่สูง จึงได้มีการจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่สู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยนำผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่มาแปรรูป ได้แก่ ไส้ซาลาเปา ไส้หมูเห็ดหอม ไส้มันเทศ และไส้ฟักทอง อีกทั้งมีการถ่ายทอดการแปรรูปเป็นอาหาร กะหรี่ปั๊บ ไส้ไก่ฟักทอง และ ไส้ไก่มันเทศ โดยกิจกรรมที่จะดำเนินงานมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผลผลิตที่เหลือจากการจำหน่าย นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ ในการสร้างงานวิจัย บริการวิชาการ ที่เน้นองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ชุมชน และมีการใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงเรื่องความพอดี โดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศาสตร์ของพระราชา



คำค้น : #SDGs12





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา