เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 22 มีนาคม 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2760 คน
วันที่ 21 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลีนิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.พิศาพิมพ์ จันทร์พรม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และนางขวัญเรือน มีมานัส ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิ์ประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เดินทางเข้าร่วมการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI ) ซิ้นตีนจกโหลง ฮอด-ดอยเต่า ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็นและกำหนดแนวทางการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่เข้าไปบูรณาการในการผลักดันให้ผ้าซิ่นตีนจกโหล่ง ฮอด - ดอยเต่า ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของอำเภอดอยเต่า อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งทางด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สร้างการรับรู้สู่สังความในวงกว้าง อันจะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่นดอยเต่าอย่างยั้งยืน จนสามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีมูลค่าสูง สร้างงาน สร้างอาชีพ สังคมชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในทุกมิติอย่างเข้มแข็ง
ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีนายเพิ่มศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ นายอำเภอดอยเต่า เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนางโสพิตย์ ฤทธิ์ศร หัวหน้ากลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ผู้แทนพานิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนจากกรุผ้าโบราณ‘บุญยวง‘ เครือข่ายซิ่นตีนจกโหล่งลี้ เครือข่ายGI ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ผู้แทนส่วนราชการอำเภอดอยเต่า และสมาชิกเครือข่ายทอซิ่นตีนจกโหล่งฮอด-ดอยเต่า เข้าร่วมในการประชุม
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา