โลโก้เว็บไซต์ UBI RMUTL นำ 3 ทีม Start up เข้าร่วมการประชุมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ครั้งที่ 2 (รอบ 12 เดือน) ประจำปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายภาคเหนือตอนบน  | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

UBI RMUTL นำ 3 ทีม Start up เข้าร่วมการประชุมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ครั้งที่ 2 (รอบ 12 เดือน) ประจำปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายภาคเหนือตอนบน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 7 ธันวาคม 2566 โดย Pakawadee Wutthiwai จำนวนผู้เข้าชม 3742 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมการประชุมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ครั้งที่ 2 (รอบ 12 เดือน) ประจำปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายภาคเหนือตอนบน 

สำนักงานปลัด กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสำนักบริหารนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ประจำปีงบประมาณ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจความตระหนักและส่งเสริมจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit) ให้นิสิตนักศึกษาคณาจารย์และนักวิจัยเสริมสร้างการพัฒนาผลงานวิจัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และใช้องค์ความรู้จากผลงานวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneurs) บ่มเพาะธุรกิจและพัฒนาสู่บริษัทจะตั้งใหม่และยกระดับเป็นบริษัทเต็มรูปแบบในอนาคต (Spin-off Companies) ตามข้อกำหนด 

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการ เพื่อเข้าร่วมการบ่มเพาะผู้ประกอบการ จำนวน 3 ทีม ในระยะเวลาการบ่มเพาะ 6 เดือน โดยได้เข้าร่วมการประชุมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ครั้งที่ 2 (รอบ 12 เดือน) ประจำปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2566 ณ ห้อง D205 อาคาร D ชั้น 2 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ทีมเข้าร่วมดังนี้

Start up - 1 ทีม ปรุงนา ผลิตภัณฑ์น้ำปู 

นำทีมโดย ดร.ลมัย ผัสดี, อ.เตชิษ สันสี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา และนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ 

Start up -2 ทีม TRACXPERT ระบบรู้จำและระบุป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ IOT 

นำทีมโดย อ.สุทธิศักดิ์ สุขัมศรี พร้อมนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ตาก 

Start up -3 ทีม Chiang Rai Smart Model ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร กล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยหนึบ กล้วยตาก กล้วยเส้น ผงกล้วย แกรโนล่า เป็นต้น

นำทีมโดย อ.หฤทัยรัตน์ จันต๊ะคาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย ร่วมกับ ว่าที่ร้อยตรีหญิง ชมพูนุท พ่วงทรัพย์สิน ผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ การประชุมดังกล่าว เพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon