โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ของ นางสาวจุราพรรณ พิมูลชาติ ร่วมกับ  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ของ นางสาวจุราพรรณ พิมูลชาติ ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 17 พฤศจิกายน 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 3063 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ของ นางสาวจุราพรรณ พิมูลชาติ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาคภูมิ จารุภูมิ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและวัสดุศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนาเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว 

ทั้งนี้ นางสาวจุราพรรณ พิมูลชาติ หัวหน้าโครงการ และณัฐศักดิ์ ปราชญาพันธ์ ตัวแทนสถานประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีณาผ้าฝ้าย 76 ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดงานวิจัย อีกทั้งแนะนำการประกอบธุรกิจโรงงานเย็บผ้า ที่มีทั้งการค้าปลีก และการส่งออก ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้ามัดย้อม ผ้าพื้นเมือง ผ้าสาลูย้อม ผ้าเมมเบิร์ต และผ้าต่างๆอีกมากมาย และสามารถรับสั่งตัดตามแบบที่ต้องการได้

จากโครงการได้มีการพัฒนาการจัดการคลังสินค้าของสถานประกอบการ เนื่องจากมีจำนวนสั่งทำสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการวางสินค้าปะปนกันไป ทางนักวิจัยจึงมีแนวทางเข้าไปช่วยเหลือและแก้ปัญหาการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า ที่ยังไม่มีตำแหน่งที่แน่นอนไม่เป็นระบบ ให้สามารถแบ่งประเภทสินค้าเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา โดยใช้ทฤษฎีระบบการจำแนกสินค้าคงคลังแบบ FSN (FSN Analysis) หรือ ทฤษฎีวัดตามความถี่ในการหมุนเวียนสินค้า FSN (Fast Moving analysis) ทั้งนี้ยังมีการออกแบบระบบแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยแอปชีทสำหรับติดตามการทำงานและการจัดการคลังสินค้าให้มีระบบการรายงานแบบ real time เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อสถานประกอบการอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon