โลโก้เว็บไซต์ บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมเสวนาวิชาการ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ในงานครบรอบ 64 ปี มุมมอง AI ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมเสวนาวิชาการ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ในงานครบรอบ 64 ปี มุมมอง AI ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 27 ตุลาคม 2566 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 1831 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา รับเชิญเข้าร่วมเวทีเสวนา งานครบรอบ 64 ปี มุมมอง AI ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึงจัดระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “64 ปี วช. สร้างองค์ความรู้ เชิดชูเกียรตินักวิจัย พัฒนาประเทศไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” โดยภาคการเสวนาวิชาการในวันที่สามของการจัดงาน ในประเด็น “AI ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” มีผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อย่อยที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

- การวิจัยเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยว โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

- การท่องเที่ยวอยุธยาอย่างยั่งยืน โดย คุณนิธิ สืบพงษ์สังข์ จาก บริษัท นัตตี้ส์ แอดเวนเจอร์ส์ จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

- การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

- การนำแพลตฟอร์ม AI มาใช้กับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดย ดร.ณสิทธิ์ เหล่าเส็น จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตผู้ดำเนินการเสวนา โดย คุณพิมพ์ภิดา วิชญพิมพ์จุฬา จาก สำนักประสานงาน Innovative house

ซึ่งปัจจุบันโลกของเราอยู่ในยุคเทคโนโลยีเฟื่องฟูแบบไร้ขีดจำกัด นวัตกรรมที่โดดเด่นของ AI สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครอบคลุมเกือบทุกขั้นตอนอันจะนำไปสู่การยกระดับในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ขอขอบคุณภาพข่าว : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) / ผศ.ดร.นงนุช เกตุ้ย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon