โลโก้เว็บไซต์ ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย โครงการพระเจ้าทองทิพย์ : ความเชื่อและทุนทางปัญญาในความสัมพันธ์ทางสังคมของล้านนา ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลดงมะดะ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย โครงการพระเจ้าทองทิพย์ : ความเชื่อและทุนทางปัญญาในความสัมพันธ์ทางสังคมของล้านนา ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลดงมะดะ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 5767 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่รอยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย "โครงการพระเจ้าทองทิพย์ : ความเชื่อและทุนทางปัญญาในความสัมพันธ์ทางสังคมของล้านนา" นำโดย นางสาววรรธนะรัตน์ ไชยวงศ์ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลดงมะดะ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

ทั้งนี้ นางสาววรรธนะรัตน์ ไชยวงศ์ หัวหน้าโครงการ ได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับทางวิสาหกิจชุมชน เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนเปิดเเหล่งที่พัก และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรียนรู้วิถีปลูกผักแบบไร้สารพิษและยังทางวิสาหกิจชุมชนยังขาดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว อีกทั้งในเรื่องของการสร้างโปรแกรมทัวร์ที่มีความหลากหลายที่ให้ผู้มาพักหรือมาศึกษาดูงานได้เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในภาคเหนือ นักวิจัยจึงได้เข้าไปพูดคุยและเชิญชวนมาร่วมในการศึกษาตำนานพระเจ้าทองทิพย์ให้สามารถโยงเข้ากับเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อเป็นจุดให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวในอนาคตที่เข้าพักในสถานประกอบการ และจัดให้สถานประกอบการเป็นหนึ่งที่สำหรับเป็นจุดแวะพักของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางท่องเที่ยวตามรอยพระเจ้าทองทิพย์ใน จ.เชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้ทางผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนตำบลดงมะดะได้มีการสร้างรายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนมากขึ้น ทั้งนี้นักวิจัยและผู้ร่วมโครงการได้จัดทำเอกสารรวบรวมตำนานการสร้างพระเจ้าทองทิพย์ของล้านนาและตำนาน  และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว (Roadmap)แบบเชื่อมโยงจากเรื่องราวตำนานพระเจ้าทองทิพย์ 1 เส้นทาง ให้แก่สถานประกอบการ เพื่อเป็นหนึ่งจุดความสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ต้องการศึกษามากขึ้น เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมสถานประกอบการ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon