โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ  ร่วมกับ บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 4 พฤศจิกายน 2565 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 3598 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริงเต็มเวลาในสถานประกอบการตามสาขาวิชาชีพ กับบริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชช์  ธนะศานวรคุณ รองคณบดีกำกับดูแลด้านงานบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยมาสฐ์  ตัณฑ์เจริญรัตน์ฐ กำกับดูแลด้านวิชาการและกิจการนักศึกษา  นายสุทธิพจน์ ตรีภูวพฤทธิ์ นายกันต์พจน์ ตรีภูวพฤทธิ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด และอาจารย์วรวิทย์ ฝั้นคำอ้าย ประธานหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจารย์ขนิษฐา หอมจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ณ บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด (สาขาเชียงใหม่) อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

          โดยบันทึกข้อตกลงมีสาระสำคัญในการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการปฏิบัติงนจริงเต็มเวลาในสถานประกอบการตามสาขาวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ด้วยการฝึกประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี และเติมเต็มระหว่างความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพทางทักษะวิชาชีพให้นักศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรผู้ใช้บัณฑิต พร้อมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการประสานสัมพันธ์ที่ดีหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามเป้าประสงค์ ของมหาวิทยาลัยและสหกิจศึกษา พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าได้เยี่ยมชมสถานประกอบการตามสาขาวิชาชีพที่นักศึกษาจะได้รับในการเข้ามาฝึกปฎิบัติงานและทำงานร่วมกัน







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon