สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนา
ภายใต้แผนงาน “ใต้ร่มพระบารมี” ประจำปี 2566
ขับเคลื่อนการสร้างงานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กรอบงบประมาณและระยะเวลา
- การจัดสรรงบประมาณ กรอบงบประมาณการสนับสนุนวิจัย ต่อโครงการ ดังนี้
1.1 กรอบวิจัยที่ 1 โครงการละไม่เกิน 350,000 บาท
1.2 กรอบวิจัยที่ 2 โครงการละไม่เกิน 250,000 บาท
1.3 กรอบวิจัยที่ 3 โครงการละไม่เกิน 150,000 บาท
1.4 กรอบวิจัยที่ 4 โครงการละไม่เกิน 400,000 บาท
1.5 กรอบวิจัยที่ 5โครงการละไม่เกิน 300,000 บาท
- ระยะเวลาดำเนินงานวิจัย 10 เดือน ( 20 พฤศจิกายน 2565 – 20 กันยายน 2566)
กรอบการวิจัย
กรอบวิจัย
|
แผนงานโครงการ
|
พื้นที่เป้าหมาย
|
กรอบวิจัยที่ 1
การวิจัยเพื่อการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความแม่นยำ เหมาะสม สำหรับพื้นที่สูง
|
- การวิจัยและพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยแผงโซล่าเซลแสงอาทิตย์ชนิดแสงทะลุผ่าน
- วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยีการติดตามผล IoT ในการวัดค่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับการทำการเกษตรสมัยใหม่
|
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศวร์ดำริ
- พื้นที่ดำเนินงานโครงการหลวง
|
กรอบวิจัยที่ 2
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตทางเกษตรบนพื้นที่ใต้ร่มพระบารมีและชุมชนโดยรอบ
|
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับห่วงโซ่การผลิตภัณฑ์จากกัญชง
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูง
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มทักษะอาชีพ upskil reskill ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนบนพื้นที่สูงในการสร้างอาชีพนอกภาคการเกษตร
|
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 39 แห่งและพื้นที่เฉพาะประกอบด้วย
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอเตอ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
|
กรอบวิจัยที่ 3
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมบนพื้นที่ใต้ร่มพระบารมีและชุมชนโดยรอบ
|
- วิจัยเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วมบนพื้นที่สูง
- วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นชุมชนบนพื้นที่สูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่เศรษฐกิจมูลค่าสูง
|
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอเตอ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
- สถานีวิจัย/สถานีเกษตรหลวง เชียงใหม่
|
กรอบวิจัยที่ 4
การวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพและการตลาดในชุมชนบนพื้นที่ใต้ร่มพระบารมี
|
วิจัยและพัฒนาอาชีพภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
|
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยวตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
|
กรอบวิจัยที่ 5
การวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ตามแนวทางการดำเนินงานโครงการหลวงหรือโครงการพระราชดำริเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
- วิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- วิจัยและพัฒนาพื้นที่สาธิตการจัดการพื้นที่เกษตรด้วยแนวคิดโครงการตามพระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานแบบโครงการหลวง
|
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
|
คุณสมบัติของผู้เสนอขอทุน
- ผู้มีสิทธิเสนอขอทุน คือ คณะ/เขตพื้นที่/สถาบัน/หน่วยงาน/นักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
แนวทางการจัดการ
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาที่โปร่งใส มีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสมดุล โดยยึดผลกระทบต่อการพัฒนาแผนงานใต้ร่มพระบารมี สถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้วางการบริหารจัดการทุนวิจัยและพัฒนา ดังนี้
- สถาบันวิจัยและพัฒนา เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประกาศให้รับทราบโดยทั่วถึงกัน
- เมื่อได้รับข้อเสนอโครงการวิจัยแล้ว สถาบันวิจัยและพัฒนา จะได้สรุปภาพรวมและพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อกลั่นกรองเบื้องต้น
- สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเชิญหัวหน้าโครงการที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นนำเสนอรายละเอียดโครงการต่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จะจัดเวทีพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบ Dialogue Forum ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผล ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert content) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ (Stakeholder) และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (User) แล้วสรุปภาพรวมเพื่อแจ้งผลการพิจารณาต่อนักวิจัยเพื่อปรับข้อเสนอโครงการวิจัยและจัดทำสัญญารับทุนวิจัยและพัฒนาต่อไป
เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ
- เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการ สถาบันวิจัยและพัฒนาจะจัดเวทีพิจารณาข้อเสนอโครงการแบบ Dialogue Forum ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผล ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert content) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ (Stakeholder) และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (User) โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการได้แก่ เป้าหมายและตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินการได้จริง ประเด็นการวิจัยและเนื้อหาโครงการวิจัย กระบวนการและการออกแบบการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ มีความสอดคล้องกับศาสตร์พระราชาในการดำเนินงาน มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การออกแบบการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ การเชื่อมโยงระหว่างโครงการวิจัยในชุดเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายใหญ่กระบวนการและกลไกความร่วมมือในพื้นที่เป้าหมาย ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของนักวิจัยความชัดเจนของ output และความคุ้มค่าของการลงทุนวิจัย (value of money) เมื่อเทียบกับจำนวนผู้รับประโยชน์ (unit cost) รวมถึงโอกาสประสบความสำเร็จของโครงการวิจัย
- โครงการกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่หรือกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิจัยร่วมในการดำเนินการ
- นักวิจัยหนึ่งท่านสามารถเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยได้เพียง 1 โครงการ
- กรณีโครงการวิจัยที่มีการสะท้อนความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีผู้ใช้งานในระดับพื้นที่ โดยมีความร่วมมือในรูปแบบของงบประมาณสมทบหรือการสนับสนุนอื่นๆ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
การส่งข้อเสนอโครงการวิจัย
- ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2565 ผ่านระบบสารสนเทศของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- คณะ/เขตพื้นที่/สถาบัน/หน่วยงาน/นักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ คลิกที่นี่
- ขอให้ผู้เสนอโครงการวิจัยยื่นเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยแนบ File Word และ PDF ตามแบบฟอร์มของสถาบันวิจัยและพัฒนา ระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ถึง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 น. ที่อีเมล์ ssuriyonte@gmail.com โดยหากท่านจัดส่งแล้วให้โทรแจ้งตามเบอร์โทรที่ปรากฏด้านล่าง
- สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาเฉพาะเอกสารที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามเงื่อนไข และหากพ้นกำหนดถือว่าเป็นโมฆะ
การแจ้งผลการพิจารณา
สถาบันวิจัยและพัฒนา จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยทราบ ผ่านระบบสารสนเทศของหน่วยงาน ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่วิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา
ทางโทรศัพท์หมายเลข 0897591025 ในวันและเวลาปฏิบัติงาน หรือที่ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ : ssuriyonte@gmail.com หรือ suriyonte_s@rmutl.ac.th