โลโก้เว็บไซต์ คณะบริหารฯ ติวเข้มเส้นทางสู่การเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการยุคใหม่ เวิร์คชอปนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานผ่านแนวคิด STEAM4INNOVATOR | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

คณะบริหารฯ ติวเข้มเส้นทางสู่การเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการยุคใหม่ เวิร์คชอปนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานผ่านแนวคิด STEAM4INNOVATOR

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 23 สิงหาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 3174 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

              คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดโครงการเส้นทางสู่การเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการยุคใหม่ สำหรับนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ด้วย STEAM4INNOVATOR ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยดำเนินการให้ความรู้และฝึกอบรมเรียนรู้ 4 Stage อันได้แก่ Stage 1: Insight (รู้ลึกรู้จริง), Stage 2: Wow! Idea (สร้างสรรค์ไอเดีย), Stage 3: Biz model (แผนพัฒนาธุรกิจ) และ Stage 4: Production & Diffusion (การผลิตและการกระจาย) ผ่านแนวคิดในการเริ่มต้นธุรกิจนวัตกรรมด้วยหลักการ 5i ประกอบด้วย 1) Inspiration (แรงบันดาลใจ) 2) Imagination (จินตนาการ) 3) Ideation (ความคิดสร้างสรรค์) 4) Integration (การบูรณาการ) และ 5) Insight/Implementation (การลงมือทำจริง) โดยจัดขึ้นในระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม 2565 ณ ห้องอบรมสัมมนา และ Learning Zone คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และมีกิจกรรมการประกวด นวัตกรรมเยาวชน BALA CM ขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมชนะเลิศได้แก่ ทีมหอมก๊ะ (ผงปรุงรสจากหอมหัวใหญ่) ประกอบด้วย น.ส.ศิริลภัสสร เปาวะ นายชนินทรักษ์ แซ่ฉั่ว และนางสาวศศิประภา ไชยสมภารโดยมีอาจารย์บงกช ศิลปานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท  ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1  ได้แก่ทีม Gel ball (น้ำหมัก) ประกอบด้วย นายบัญญัติ เลาว่าง นางสาวเบญจมาศ สวยงามและนางสาวปริญธิดา สุขศิริ โดยมีอาจารย์ณฐา อภิธาวินวสุ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม อาหารเสริมจากผักแคล ประกอบด้วย นางสาวสุรดา  ไชยเทพ และนางสาวดารินทร์  ธุวะคำ โดยมีอาจารย์วิวัฒน์โชติกร เรืองจันทร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งทีมชนะเลิศอันดับ1และ2 จะได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทน ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เชียงใหม่ เข้าร่วมการแข่งขันในโครงการผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น (STEM4INNOVATOR TRAINER’S LAB)กิจกรรมที่ 4 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ The Trainer Sandbox by Coach Phase 2 แข่งขันทักษะ นำเสนอโครงการ (Proposal) ผลงานนวัตกรรม 12 ชิ้นงาน จาก 6 เขตพื้นที่  ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ ห้องบัวระวง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มทร.ล้านนา อีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon