โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา น่าน ร่วมกับเกษตรอำเภอทุ่งช้าง, วช. และเครือเบทาโกร สร้างธุรกิจเกษตรชุมชนต้นแบบ ในกลุ่มแปลงใหญ่ส้มสีทองทุ่งช้าง จ.น่าน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา น่าน ร่วมกับเกษตรอำเภอทุ่งช้าง, วช. และเครือเบทาโกร สร้างธุรกิจเกษตรชุมชนต้นแบบ ในกลุ่มแปลงใหญ่ส้มสีทองทุ่งช้าง จ.น่าน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 5 พฤษภาคม 2565 โดย ราตรี ทิพเนตร จำนวนผู้เข้าชม 1287 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ร่วมกับอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดย นายธนัย บุญมาธิวัฒน์ เกษตรอำเภอสองแคว รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอทุ่งช้าง นำทีมลงพื้นที่เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร เช่น ส้มสีทอง และเงาะ ให้สามารถดำเนินการในรูปแบบธุรกิจ ขับเคลื่อนด้วยตัวเกษตรกร อย่างยั่งยืน โดยใช้แผนการวิจัยพื้นที่ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ มทร. ล้านนา น่าน, บริษัทในเครือเบทาโกร และเซ็นทรัลฯ เป็นต้น ซึ่ง นายธนัย บุญมาธิวัฒน์ ได้มุ่งเน้นให้การพัฒนาแผนธุรกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาตัวเกษตรกร พัฒนาการผลิต การตลาดตลอดจนสร้างมาตรฐานให้กับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าให้กับส้มสีทอง และเงาะ ในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง เพื่อเป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่เกษตรกร

โดยช่วงปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา มทร.ล้านนา น่าน ได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารจากส้มสีทองน่านเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ชุมชนและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดน่าน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจาก วช. มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี  ศรีแย้ม อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา น่าน เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับคณะนักวิจัยจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลำปาง) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพร่-เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มทร.ล้านนา น่าน และมทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมกันดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารจากส้มสีทองน่านและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดน่าน ซึ่งมีพิธีเปิดเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน ณ บ้านวังผา อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

 

อ้างอิง : นักวิจัย มทร.ล้านนา น่าน จับมือเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มสีทอง พร้อมเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวสวนเกษตรส้มสีทอง ร่วมกับ ททท. จังหวัดน่าน หวังดึงนักท่องเที่ยวสร้างจุดเชคอินแห่งใหม่ ชิม ชอป ชิลล์ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (rmutl.ac.th)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา