โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พร้อมเดินหน้าสนับสนุน BCG Model ลำปาง หนุน การพัฒนา อุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มทร.ล้านนา พร้อมเดินหน้าสนับสนุน BCG Model ลำปาง หนุน การพัฒนา อุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 2 พฤษภาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 5359 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

            วันที่ 30 เมษายน 2565  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุมหารือและศึกษาดูงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจากไผ่และครั่งของจังหวัดลำปาง และลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ บริษัท นอร์ทเทอร์น สยามซีดแลค จำกัด โดยมีคณะกรรมการ การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายชูศักดิ์  ชื่นประโยชน์ คณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายกสมาคมครั่งไทย  อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเข้าร่วมการประชุมและศึกษาดูงาน เพื่อขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจ (ครั่ง ไม้ไผ่) เพื่อเป็นส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์พื้นที่ลำปาง ด้วยฐานการวิจัยจากภาคการศึกษา

          ในการประชุมหารือครั้งนี้ เป็นหารือถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดลำปาง ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตรของจังหวัดลำปาง ซึ่งในส่วนของมทร.ล้านนา จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการใน 3 ระยะดังนี้

  1. ระยะต้นน้ำ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ในการสำรวจพื้นที่ปลูกรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยจะรับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วม มหาวิทยาลัยในพื้นที่ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา
  2. ระยะกลางน้ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โรงงานแปรรูปไม้ไผ่ และเครื่องจักรในการผลิต โดย มทร. ล้านนา ลำปาง ร่วม มรภ. ลำปาง ร่วมกันดำเนินการและขอทุนสนับสนุนจากโครงการ Talent mobility ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาเครื่องทำตะเกียบ
  3. ระยะปลายน้ำ ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อ creative lanna และ local economy ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา  มรภ. ลำปาง และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยขอรับทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

 

คลังความรู้

ครั่ง คือแมลงจำพวกเพลี้ยที่อยู่ในวงศ์ Kerridae  อาทิ Laccifer lacca  ถือว่าเป็นแมลงที่เป็นศัตรูต่อพืชตามธรรมที่จะใช้งวงปากเจาะเพื่อดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ประเภทไม้เนื้ออ่อน แต่ว่ากลับเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมากนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ครั่งจะขับสารชนิดหนึ่งซี่งมีลักษณะเป็นเหมือนยางหรือชัน (Resin) ออกมาสร้างเป็นรังรอบตัวไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรู สารนี้มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองแก่ หรือสีส้มขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ที่แมงครั่งเกาะ  ซึ่งปัจจุบันมีการนำครั่งมาใช้ประโยชน์มากมาย อาทิ ในอุตสาหกรรมอาหารและยา นำไปใช้ในการผลิตสารตั้งต้นสำหรับเคลือบขนม ยา อุตสาหกรรมย้อมผ้า สีผสมอาหาร อุตสาหกรรมเครืองสำอาง และอุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon