โลโก้เว็บไซต์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ลำปาง จัดประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่  สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรและการดำเนินงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ลำปาง จัดประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรและการดำเนินงาน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 24 มีนาคม 2565 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 930 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 24 มีนาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จัดประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่  สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรและการดำเนินงาน ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี ดร.ชานิกา​ ฉัตรสูงเนิน​ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารและแผนยุทธศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม

       ดร.ชานิกา ฉัตรสูงเนิน  กล่าวว่า ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาดำเนินโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนให้มีศักยภาพสูงทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ ที่ทันต่อความต้องการของการทำงานในอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  ในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ลำปาง มีการดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่หลักสูตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ตั้งแต่ปีงบประมาณ  2562 ทางคณะกรรมการบริหาร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ลำปาง จึงมีแนวคิดในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่อาจารย์เกี่ยวกับแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในด้านเทคนิควิธีการเขียนโครงการ การประเมินผลและการทำงานร่วมกับเครือข่าย เพื่อให้ผู้เขาร่วมประชุมเกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร การเขียนข้อเสนอโครงการและการดำเนินงาน

         ด้าน ดร.ศิริขวัญ ปัญญาเรียน  ผู้รับผิดชอบโครงการแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีคณะทำงานโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ หลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง  ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำโครงการด้านต่างๆ  ประกอบด้วย อาจารย์เรืองพันธุ์  ทรัพย์มี และอาจารย์สมเกียรติ  ตันตา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร  ด้านเทคนิควิธีการเขียนโครงการ  การหาเครือข่ายและการทำงานร่วมกับเครือข่าย ดร.สายนที  ทรัพย์มี และอาจารย์ปรีดา ตัญจนะ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านการประเมินผลด้านเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมในการทำงานของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
          ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (พิษณุโลก เชียงราย ตาก และลำปาง)  เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมต่อไป ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวในตอนท้าย
          ข่าว : จารุวรรณ  สุยะ
          ภาพ : ดร.ศิริขวัญ ปัญญาเรียน 
          ที่มาของข่าว :ดร.ศิริขวัญ ปัญญาเรียน   /สุพรรณี  ปีบ้านใหม่ /สุนิสา ติ๊บคำ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา