โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการยกระดับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาแฟอาราบิก้า ชุมชนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการยกระดับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาแฟอาราบิก้า ชุมชนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 13 กันยายน 2564 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 5117 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการยกระดับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาแฟอาราบิก้า ชุมชนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ประธานการดำเนินงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิด โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 12 กันยายน 2564 ณ เตอะเนส สะเมิง ดอยนก รีสอร์ท อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

          โครงการยกระดับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาแฟอาราบิก้า ชุมชนบ้านบ่อแก้ว  อำเภอสะเมิง เป็นโครงการเพื่อการสนับสนุนกิจกรรม โดยมุ้งเน้นการส่งเสริมอาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยให้นำองค์ความรู้และการยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนได้มีสินค้าเกษตรในท้องถิ่นตามความต้องการของผู้บริโภค และสร้างมุลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนได้มีช่องทางการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ท่าน โดยกิจกรรมได้แก่

  • การอบรมบรรยายหัวข้อกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์กาแฟตามความต้องการของผู้บริโภคใรปัจจุบัน การอบรมบรรยายหัวข้อขายของออนไลน์อะไรดี 2564 อยากขายของออนไลน์ เริ่มยังไง วิทยากรโดยผู้ช่วยศาสตร์จารย์กนกวรรณ เวชกามา และอาจารย์กีรติ วุฒิจารี 
  • การปฎิบติการแปรูปผลิตภัณฑ์จากกาแฟอาราบีก้าจากท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์สินค้า เป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะตัว วิทยากรโดยอาจารย์ธีรวัฒน์ เทพใจกาศ และอาจารย์ชณิชา จินาการ อาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร
  • การถ่ายภาพสินค้าเกษตร ให้น่าดึงดูด และการใช้อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพสินค้าเกษตรแลพะอาหารแปรูปในตลาดออนไลน์ โดยทีมวิทยากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon