เผยแพร่เมื่อ : พุธ 24 กุมภาพันธ์ 2564 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 9693 คน
ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.สุวิชช์ ธนะศานวรคุณ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ผศ.ดร.ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และดร.อุกฤษฎ์ ธนทรัพย์ทวี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มทร.ล้านนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงข้อเสนอโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2564 จัดขึ้นโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมเบสต์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์โฮเล จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้ คือการพัฒนากำลังคนสายอาชีพ และสร้างโอกาสในเยาวชนได้เรียนต่อสายวิชาชีพระดับสูงและได้มีงานทำจริงและต้องเป็นบริษัทหรือสถานผู้ประกอบการที่มีการทำงานกับสถานศึกษาในรูปแบบ WIL เต็มรูปแบบ โดยเน้น 3 สาขา ได้แก่ 1. เป็นสาขาเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ 2. สาขาขาดแคลนในท้องถิ่นนั้นๆ และ3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ
โดยในปี พ.ศ. 2564 มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมรับทุนเป็นปีที่ 3 และได้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอผ่านการพิจารณาขั้นต้น จำนวน 2 ประเภททุน คือ ประเภททุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส./อนุปริญญา) จำนวนผู้รับทุนตามโครงการ 75 ทุน และ ประเภททุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) จำนวนทุนตามโครงการ 50 ทุน โดยมีจำนวนทุนรวม 125 ทุน โดยมีรายละเอียดของทุนดังนี้
ประเภททุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส./อนุปริญญา)
ประเภททุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา)
โดยคุณสมบัติของนักเรียนผู้ขอรับทุนในส่วนคุณสมบัตินักเรียนทุน ต้องมี 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส 2. มีศักยภาพในการเรียนจนจบโดยพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสม 3.00 ขึ้นไป หรือมีความสามารถพิเศษการสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ในสาขาที่เปิดรับ และกำลังจะจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับประเภททุน 5 ปี (ปวช. ต่อเนื่อง ปวส./อนุปริญญา) และมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภททุน 2 ปี (ปวส./อนุปริญญา) โดยสามารถติดต่อและสมัครได้ที่ศูนย์ประสานงาน คุณอัมพร (อุ๋ย) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
สนใจติดต่อข่าวทุนได้ที่ Fanpage
ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
คลังรูปภาพ : ทุนนวัตกรรม
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา