โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.น่าน จัดเวทีเสวนาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.น่าน จัดเวทีเสวนาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 28 สิงหาคม 2560 โดย น้ำฝน สุทธิกุญชร จำนวนผู้เข้าชม 2252 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อมรชัย ล้อทองคำ อาจรย์จุลทรรศน์ คีรีแลง อาจารย์เชาวลีย์ ใจสุข และอาจารย์เจนจิรา ลานแก้ว  ได้ทำการจัดเวทีเสวนาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน จากงานวิจัยภายใต้ “โครงการพัฒนานักวิจัยมืออาชีพแบบมุ่งเป้าตามนโยบายชาติ” ประเภททุน PRD เรื่อง การสำรวจชีวประมง คุณภาพน้ำ และการปนเปื้อนโลหะหนักในสัตว์น้ำและแหล่งน้ำหลังฤดูน้ำหลากในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น 2 อำเภอสันติสุข จังหวัดน่านซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการระหว่างเดือนพศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยผลจากการวิจัยที่นำเสนอในงานมี ส่วน ได้แก่ พรรณปลา แพลงก์ตอน คุณภาพน้ำ และสารเคมีที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำและตัวสัตว์น้ำหลังฤดูน้ำหลาก

          ในการจัดเวทีครั้งนี้ได้ดำเนินการในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ บ้านน่านมั่นคง หมู่ ๗ ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน โดยมีผู้นำชุมชน และลูกบ้านของบ้านน่านมั่นคง เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ในการจัดเวทีเสวนาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้ ถือว่าเป็นงานวิจัยต้นๆ ที่ชุมชนได้รับรู้ถึงทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพน้ำและการปนเปื้อนของสารเคมีในอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น ๒   ซึ่งคณะวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงบริบทต่าง ๆ ของชุมชนที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม ได้แก่ (๑) ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าต้นน้ำจากการทำการเกษตร และ (๒) การใช้ยาและสารเคมีเพื่อการเกษตรในปริมาณสูง ดังนั้นคณะวิจัยจึงได้มีข้อเสนอแนะแก่ชุมชนในหลายๆ ประเด็น ได้แก่ (๑) การรักษาพื้นที่ด้านบนของอ่างเก็บน้ำ เพื่อรักษาพรรณปลาดั้งเดิมของแหล่งน้ำไว้  (๒) การจัดการบ่อน้ำและคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคของชุมชน (๓) การใช้สารเคมีทางการเกษตร  (๔)  การใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยขอนแห่น ๒ ทั้งทางด้านการประมง และอาชีพทางการประมง ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวชุมชนก็จะนำไปปรึกษาภายในชุมชนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในภายหลัง

          สำหรับงานวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือและอำนวยความสะดวกจากชุมชนบ้านน่านมั่นคงเป็นอย่างดีดังนั้นคณะวิจัยจึงขอขอบคุณคนในชุมชนมา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา