เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 สิงหาคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 2471 คน
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา RDi RMUTL
ขอเชิญชมนิทรรศการ "กิจกรรม SHOW & SHARE" ส่งเสริมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในงาน CRCI 2024 & Innovation Expo ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย
และรับฟังการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กับ การขับเคลื่อน Appropiate Technology เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน" จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00-11.00 น.ณ ห้องประชุมเชียงใหม่แกรนด์วิว โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว
การจัดงานภายใต้กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นำผลงานวิจัย องค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สำหรับอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น
ในการจัดงานครั้งนี้ ได้นำผลงานมาแสดงถึง 11 ผลงาน ของอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการ Pitching & Grooming บ่มเพาะวิจัย ส่งเสริมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่ อาหาร เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรม/เทคโนโลยี และงานคราฟ รายชื่อผลงาน ดังนี้
#เครื่องมือแพทย์
➡ กายอุปกรณ์ช่วยรับประทานอาหารสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
#อุตสาหกรรม / #เทคโนโลยี
➡ เครื่องคั่วพริกแบบกึ่งอัตโนมัติ
➡. ระบบ ควบคุมการ ชาร์จ อีวีไบร์ท ด้วยเทคโนโลยี IoTโดยชำระเงินผ่านระบบ epayment
➡ เตาอบพลังงานไฮบริด
➡ นวัตกรรม AIoT สำหรับเพาะกล้ากัญชง
➡ การศึกษาและออกแบบระบบบำบัดกลิ่นเหม็นรบกวนในฟาร์มไก่แบบชีวภาพ
➡ การพัฒนาแผ่นให้ความเย็นจากเปลือกไข่
➡ การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจากถ่านขาวและเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยเตาคู่ควบระบบให้ความร้อนแบบแก๊สซิฟิเคชั่น และควบคุมระบบป้อนอากาศด้วย IoT
➡ ระบบตรวจสอบใบแอนแทรคโนสและใบราแป้งของมะม่วงโดยกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ผ่านระบบตอบโต้ข้อความอัตโนมัติ
#งานคราฟ
➡ เคลือบศิลาดล
#ผลิตภัณฑ์
➡ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากใบเมี่ยง (อ.วิภาดา ญานสาร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา)
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา