โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

มทร.ล้านนา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 7 มิถุนายน 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2495 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

        วันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 18.06 นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก       ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากับทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรูปประติมากรรมนูนต่ำพระมหาธาตุเจดีย์ วัดพระสิงห์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาบริหารธุรกิจกับทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินี

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาพัฒนา และผลิตกระแสไฟฟ้าภายในประเทศ ด้วยทรงตระหนักว่ากระแสไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศทรงให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักศึกษา ทรงมีพระราชปณิธานที่จะส่งเสริมเทคโนโลยีและพัฒนาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

            สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด พระปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการสืบสานศิลปะ และงานหัตถศิลป์ของราษฎรทั่วทุกภูมิภาค ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานฝีมือและทักษะของราษฎรในถิ่นทุรกันดารร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรด้านศิลปวัฒนธรรมที่เน้นการสร้างสรรค์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานหัตถศิลป์ เพื่อเผยแพร่ความงามอันมีเอกลักษณ์ ทรงส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและหัตถศิลป์อันทรงคุณค่า เพื่อสร้างรายได้แก่ราษฎร นำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา