โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 โชว์ผลงานนวัตกรรมภูมิปัญญาไทยตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

มทร.ล้านนา ร่วมงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 โชว์ผลงานนวัตกรรมภูมิปัญญาไทยตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 21 พฤษภาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2037 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567” ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายวีรพงศ์  ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

          งาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567” ในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องขึ้น จากภาคใต้และภาคอีสาน ซี่งเป็นการรวบรวมผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  และนำมาจัดแสดงเทคโนโลยีพร้อมใช้กว่า 2,316 ผลงาน จากภูมิปัญญานักวิจัยไทย ตั้งเป้าขยายผลขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก แก้หนี้ครัวเรือน จับคู่แก้โจทย์ปัญหาตอบสนอง ความต้องการชุมชนตามบริบทพื้นที่โดยมีกลุ่มเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมงานกว่า 249 กลุ่ม ภายในงานมีการนำเทคโนโลยีพร้อมใช้จำนวน 100 ผลงาน ที่จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากภูมิปัญญาการศึกษา การค้นคว้า วิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของเครือข่าย มรภ. และเครือข่าย มทร. ประกอบด้วย เทคโนโลยีในส่วนการผลิต (ต้นน้ำ) ส่วนการแปรรูปหรือยกระดับการเพิ่มมูลค่าผลผลิต (กลางน้ำ) และเทคโนโลยีด้านการตลาด/โลจิสติกส์ (ปลายน้ำ)เพื่อให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดจนวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ได้พิจารณานำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ ตามบริบทพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมรายได้ สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างความอยู่ดีกินดีมีความสุข

           โดยงานครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำผลงานนวัตกรรม งานวิจัย ของอาจารย์ นักวิจัยเข้าร่วมจัดแสดงผลงาน อาทิ ผัดไทอบแห้งพร้อมเส้นข้าวบุก ข้าวเกรียบกล้วย เทคโนโลยีฟองอากาศขนาดเล็กสำหรับล้างไขมันในเส้นด้ายฝ้าย เทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์ไฟป่า เครื่องวัดความสุกของอโวคาโด้ ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด เป็นต้น





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา