โลโก้เว็บไซต์ สวพ.มทร.ล้านนา และ สวก.ลำปาง เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง” | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

สวพ.มทร.ล้านนา และ สวก.ลำปาง เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง”

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 30 พฤศจิกายน 2566 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 2292 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ คณะผู้บริหารสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หน่วยบริหารจัดการกลางโครงการวิจัย “การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างขีดความสามารถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์” เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง” ประจำเดือน พฤศจิกายน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ ชั้น ๑ อาคารโอฬารโรจน์หิรญ (อาคาร ๓๘) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ช

การประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการกรอกข้อมูล OM เข้าระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ DSS  ขั้นตอนกระบวนการ “การค้นหาและสอบทาน” ครัวเรือนยากจน พื้นที่จังหวัดลำปาง การนำเสนอผลการจัดเวที Poverty Forum “ไผ่พืชเศรษฐกิจชุมชนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน และกิจกรรม “วิ่งการกุศลปางป๋วยครอสคันทรี่ครั้งที่ ๓” แบมบูเทรล ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 

ในที่ประชุมมีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย จำนวน ๕ โครงการ ก่อนที่จะมีการพิจารณารูปแบบ ผู้รับผิดชอบ การนำผลงานวิจัยโครงการ การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

สำหรับการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง นั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับเครือข่าย ๙ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และมีสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมเป็นหน่วยบริหารจัดการกลางชุดโครงการวิจัยดังกล่าว ทั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเถิน แม่เมาะ งาว แจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง โดยการขับเคลื่อนโมเดลหลักคือ ข้าวลำปาง และ โมเดลเสริม คือ ไผ่แก้จน ที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของคนจนเป้าหมายบนฐานข้อมูล PPPConext รวมจำนวน ๘๖๐ ครัวเรือนคนจนเป้าหมาย


ภาพ/ข่าว: สุริยนต์ สูงคำ





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา