โลโก้เว็บไซต์ กิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ (Big Brother) 1-5 มีนาคม 2566 | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

กิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ (Big Brother) 1-5 มีนาคม 2566

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 8 มีนาคม 2566 โดย จริยา ปามูล จำนวนผู้เข้าชม 3828 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 1-5 มีนาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ (Big Brother) โดยได้เรียนเชิญ Professor Nakai Hirotaka, Ph.D จาก High Energy Accelerator Research Organization (KEK), Tsukuba Japan เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ เพื่อหาแนวทางการทำงานวิจัยร่วมกัน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรของ KEK และ RMUTL ภายในอนาคต

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ วงษ์พานิช รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนนโยบาย และยุทธศาสตร์, รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, หัวหน้าหน่วย COE, หัวหน้าห้องวิจัย และผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้ให้การต้อนรับ Professor Nakai Hirotaka, Ph.D เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ภายในกิจกรรมได้ทำการพา Professor Nakai Hirotaka, Ph.D เข้าเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (หน่วยวิจัย Materials and Medical Innovation Research Unit และ หน่วยวิจัย Unit of Research, Innovation and Testing for Rail Systems : URIT-RailS), วิศวกรรมไฟฟ้า (สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ และ ห้องวิจัย Hybrid atmospheric water harvesting by direct cooling and desiccant wheel และหลักสูตร ), วิศวกรรมโยธา (ห้องวิจัย Concrete technology and material testing laboratory), วิศวกรรมเครื่องกล (สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ และห้องวิจัย Development of Airborne Infection Isolation Room with Low-Cost Operating System) และ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ (หลักสูตรวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์) เพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน อีกด้วย





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา