โลโก้เว็บไซต์ ประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ โครงการการพัฒนากระบวนการหมักโชยุด้วยเทคนิคการปรับสภาวะอุณหภูมิสูงภายใต้สภาวะการหมัก แบบกะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิอร โฉมศรี หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท อี เอช ไอ โตไก จำกัด | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

ประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ โครงการการพัฒนากระบวนการหมักโชยุด้วยเทคนิคการปรับสภาวะอุณหภูมิสูงภายใต้สภาวะการหมัก แบบกะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิอร โฉมศรี หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท อี เอช ไอ โตไก จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 30 มกราคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1268 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาตร์ SPU พร้อมคณะ เข้าร่วมการประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2565  (Reinventing University) ภายใต้กิจกรรมโครงการ Platform การเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ภายใต้โจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna) รอบที่ 2 โดยการแก้ไขปัญหาโจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ หมายถึง “การรักษา อนุรักษ์และพัฒนาด้วยการสร้างสรรค์วัฒนธรรมล้านนา เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากสินค้า บริการ หรือการท่องเที่ยวจากต้นทุนทางภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา มีการสร้างและรวบรวมองค์ความรู้พร้อมใช้ เพื่อนำไปทำให้ประโยชน์ต่อชุมชนให้สามารถนำไปต่อยอดด้วยการประยุกต์ บูรณาการกับการออกแบบรสนิยมวิถีชีวิตสมัยใหม่ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมสมัยและเติบโตด้วยตนเองได้” 

โดยโครงการการพัฒนากระบวนการหมักโชยุด้วยเทคนิคการปรับสภาวะอุณหภูมิสูงภายใต้สภาวะการหมัก แบบกะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิอร โฉมศรี หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท อี เอช ไอ โตไก จำกัด ได้ร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกับสถานประกอบการ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้สถานประกอบการไม่สามารถควบคุมราคาวัตถุดิบได้ และส่งผลต่อแผนการดำเนินงานและกระบวนการผลิตของบริษัท จึงทำให้บริษัทเร่งแก้ไขและอยากผันตัวในการทำโชยุเอง ทั้งนี้กระบวนการผลิต ยังคงต้องได้รับการพัฒนา และปรับปรุง จากการศึกษาวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญ และการหมักที่ใช้ระยะเวลานาน และต้องมีการควบคุมขั้นตอนการผลิต จึงต้องมีผู้ช่วยชาญในการวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ว่าจะทำอย่างไร ให้กระบวนการหมักใช้ระยะเวลาที่สั้นลง และยังคงรสชาติความอร่อย จึงเป็นที่มาในการจัดทำโครงการพัฒนากระบวนการหมักโชยุแบบล้านนาด้วยเทคนิคการปรับสภาวะอุณหภูมิสูงภายใต้สภาวะการหมัก แบบกะ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดระยะเวลาในการหมักและยังคงความอร่อยเหมือนเดิม ทั้งนี้โครงการมีการดำเนินการมาก่อนหน้าก่อนที่จะยื่นข้อเสนอโครงการแล้วบ้าง จึงทำให้เงินงบประมาณที่ได้ในการดำเนินโครงการมีประโยชน์มากในการที่ช่วยพัฒนาต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ให้สถานประกอบการได้

 

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา