โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ iSAI-NLP-AIoT 2022 เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความรู้ระหว่างนักวิจัย/นักวิชาการ | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

มทร.ล้านนา ร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ iSAI-NLP-AIoT 2022 เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความรู้ระหว่างนักวิจัย/นักวิชาการ

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 5 พฤศจิกายน 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4307 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIAT) ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในและต่างประเทศ และหน่วยงานภาคเอกชน จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ  “The 17th International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing and The International Conference on Artificial Intelligence and Internet of Things หรือ (iSAI-NLP-AIoT 2022) เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความรู้ระหว่างนักวิจัย/นักวิชาการระดับนานาชาติในด้านปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยครอบคลุมหัวข้อการวิจัยที่หลากหลายในการเรียนรู้ของเครื่อง อินเทอร์เน็ตอัจฉริยะ วิทยาศาสตร์ข้อมูลกับสุขภาพ แอปพลิเคชันการดูแล AI และภาษา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดการประชุม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ เชียงใหม่

         การประชุมวิชาการ iSAI-NLP-AIoT 2022 เป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ระดับนานาชาติ จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากในและต่างประเทศร่วมเป็นประธานกรรมการวิภาคการนำเสนอผลงานวิจัย (Chairman) และมีการนำเสนอผลงานวิชาการใน 9 หัวข้อได้แก่

         1. Digital Contents  (VR & AR, Game, Convergence Contents, Media: Animation CG, Digital cinema)

          2. Foundation / Source ( Contents Design,Graphics: 3D stereoscopic, Motion graphics, Hologram, UX-based Interface, Social Media,Data Management, Sound & Music)

           3. Performance / Exihibition (Performance Technology,Exihibition Technology, Crafts Technology ,Traditional Music Technology)

            4. Culture Service (Cultural Heritage Technology, Tourism Service Technology,Sports Service Technology, Library Technology, Museum Technology, Copyright Technology

            5. Advanced Technology( Machine Intelligence , IOT & Big Data: IOT & Big-data technology applied in culture technology, New IOT & Big Data technology)

             6. Humanity / Social Science (Culture & Technology in Humanity, Culture & Technology in Social Science)

             7. Art / Design( Culture & Technology in Art

             8. Convergence Technologies  All convergence technologies not limited to a specific field

             9. Special Session(Metaverse)

 

          สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ iSAI-NLP-AIoT ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพต่อไป

 

 

 

 

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา