โลโก้เว็บไซต์ คณะวิศวกรรมฯ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาโท-เอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การเรียน  | ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีเกษตร

คณะวิศวกรรมฯ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาโท-เอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การเรียน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 3 พฤศจิกายน 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 3503 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 3  พฤศจิกายน 2565 ที่ห้องประชุมกาสะลอง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คณะวิศวกรรมศาสตร์จัดกิจกรรมปฐมนิเทศระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานและกล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษา ซึ่งในปีนี้ มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) จำนวน 9 คน และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)  จำนวน  5 คน และในโอกาสเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจจา ไทยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตรษพร้อมด้วยคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมให้โอวาทและคำแนะนำการปรับตัวในการเข้ารับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า “ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษานั้น ย่อมบ่งบอกถึงความตั้งใจของทุกๆ ท่าน ที่จะมุ่งพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตในการศึกษาไม่ว่าจะระดับใดจำเป็นต้องใช้ทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจและกำลังสติปัญญา ในการศึกษาเล่าเรียนตลอดหลักสูตร ซึ่งมหาวิทยาลัยมีความพร้อมทั้งด้านอาจารย์ผู้สอนซึ่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานสนับสนุนในการศึกษาค้นคว้า ทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิชาการ อีกทั้ง หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้นยังสอดรับกับความต้องการในภาคแรงงานและภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งหวังว่าผู้เรียนทุกท่านจะได้ใช้โอกาสในการเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ จากอาจารย์ผู้สอนและจากเครือข่ายทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตนเองและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนประเทศชาติต่อไป”

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา