เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 29 พฤษภาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 139 คน
ระยะเวลา : 31 พฤษภาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
สถานที่ : ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ณ อาคารอำนวยการ ห้องประชุมหิรัญญิการ์ ชั้น 2 มทร.ล้านนา เวลา 9.00 น. กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU, ผศ.ดร.ชินานาฏ วิทยาประภากร หัวหน้าโครงการ , นายอภิชาติ ใสงาม หัวหน้าโครงการ, นายครรชิต เงินคำคง นักวิจัยโครงการ Talent Mobility ได้ร่วมบรรยาย และนำเสนอโครงการ ให้แก่นักวิจัย มรภ.พิบูลสงคราม ได้แก่
โครงการการพัฒนาโกโก้ไทยสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลค่าสูงในรูปแบบอาหารทางเลือก”ช็อคโกแลตคีโต”
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ชินานาฏ วิทยาประภากร ร่วมกับ บริษัทฮิลล์ ไทรบ์ โกโก้ คอฟ จำกัด
โครงการออกแบบและสร้างเครื่องรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงกึ่งอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์อภิชาติ ใสงาม ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ลานนา ฟู้ด
รวมทั้งชี้แนะแนวทางการเขียนข้อเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่อาจารย์ และนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในการศึกษาดูงานเพื่อเป็นแนวทางในการเสนอขอรับทุนโครงการ Talent Mobility
ทั้งนี้ รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน มทร.ล้านนา ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับนักวิจัยจาก มรภ.พิบูลสงครามในครั้งนี้ พร้อมทั้งนำเสนอโครงการ Talent Mobility ที่ประสบผลสำเร็จครั้งที่ผ่านมา และสร้างกำลังใจให้แก่นักวิจัย รวมถึงชี้แนะแนวทางในการเสนอขอทุนโครงการ TM อีกด้วย
ณ เวลา 13.00 น. ทางกลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้พาอาจารย์และนักวิจัย จาก มรภ.พิบูลสงคราม เข้าศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ ได้แก่
โครงการการพัฒนาเครื่องบดถ่านลีโอนาไดต์สำหรับกระบวนการสกัดฮิวมัสน้ำ
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ว่าที่ร้อยโท.สุรพิน พรมแดน ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่เมาะวิศวกรรมเหมืองแร่ และ
โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอบลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัส
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปีอินทรีย์แม่เมาะ
เพื่อศึกษาดูงานโครงการวิจัย ของ มทร.ล้านนา ที่ทำร่วมกับสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้นักวิจัยได้สอบถามข้อมูลกระบวนการผลิต รวมทั้งองค์ความรู้ของการผลิตต่างๆ ในการทำงาน ร่วมกับสถานประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจการทำงานวิจัยโครงการ Talent mobility ทำให้นักวิจัยได้องค์ความรู้ใหม่ๆในการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับทุน และวิธีเลือกสถานประกอบการที่พร้อมและมีประสิทธิภาพในการเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งได้องค์ความรู้ปัจจัยที่ส่งผลให้โครงการประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเเก่นักวิจัย สถานประกอบการ นักศึกษา รวมทั้ง ชุมชน สังคม และสภาพแวดล้อม ให้ได้มากที่สุดอีกด้วย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา