โลโก้เว็บไซต์ ยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยโดยเทคโนโลยีพลาสมาไมโครนาโนบับเบิ้ล  | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยโดยเทคโนโลยีพลาสมาไมโครนาโนบับเบิ้ล

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 5 มกราคม 2560 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2349 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ “1st International Symposium on Application of High-voltage, Plasmas & Micro/Nano Bubbles to Agriculture and Aquaculture (RMUTL 1st ISHPMNB 2017) โดยได้รับเกียรติจาก นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 มกราคม 2559 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา

รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี ประธานการจัดงาน กล่าวว่า การจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ มีความมุงหวังที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การจัดประชุมวิชาการนานาชาติก็เป็นเสมือนเวที่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการขนส่งและเก็บรักษาสินค้าทางการเกษตรเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านอาหารของประเทศไทยให้มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันการเก็บรักษาอาหารทางด้านการเกษตรนั้นพบว่ายังมีการปนเปื้อนของสารเคมีอยู่มากซึ่งจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ”

อธิการบดีกล่าวต่ออีกว่า การศึกษาวิจัยในเรื่องพลาสมาไมโครนาโนบับเบิลนี้เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ปัจจุบันมทร.ล้านนา ได้ทำการเปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการประยุกต์ใช้ไฟฟ้าแรงสูงพลาสมาและไมโครนาโนบับเบิลเพื่อการเกษตรขั้นสูง” เพื่อจะป็นการเรียนรู้ ทดลอง วิจัยเพื่อที่จะได้ขยายผลสู่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในส่วนอื่นต่อไปและถือเป็นหนึ่งกิจกรรมในการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 12 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาอีกด้วย”

กิจกรรภายในงานมีการบรรยายพิเศษโดย Mr.Koichi TAKAKI จาก Iwate University บรรยายในหัวข้อ “Plasma and pulsed power applications to agriculture, fishery and food processing” , Mr.Akimi SERIZAWA จาก Kyoto University บรรยายในหัวข้อ“Fundamentals and Application of Micro/Nano Bubbles” และการนำเสนอผลงานการวิจัยเกี่ยวกับนาโนบับเบิลเพื่อนำไปต่อยอดและนำไปใช้ในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา